Header Ads

SCB EIC ประเมินแรงส่งเศรษฐกิจไทยแผ่วลง ฉุดรั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้



เรียน   ท่านสื่อมวลชน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ขอนำส่งบทวิเคราะห์ เรื่อง  SCB EIC ประเมินแรงส่งเศรษฐกิจไทยแผ่วลง ฉุดรั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้ มาเพื่อโปรดพิจารณา และขอขอบพระคุณในความอนุเคราะห์นำเสนอข่าวสารของธนาคารด้วยดีเสมอมา

 

ขอแสดงความนับถือ

ทีมประชาสัมพันธ์ ธนาคารไทยพาณิชย์

 

ผู้เขียนบทวิเคราะห์

ณฐพงศ์ ตันติจิรานนท์  นักเศรษฐศาสตร์

วิชาญ กุลาตี นักเศรษฐศาสตร์

ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส

ณัฐณิชา สุขประวิทย์  นักเศรษฐศาสตร์

 

 

SCB EIC ประเมินแรงส่งเศรษฐกิจไทยแผ่วลง ฉุดรั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้

KEY SUMMARY

 

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2023 ขยายตัวต่ำต่อเนื่อง

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2023 ขยายตัวเพียง 1.7%YOY เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ -0.6%QOQ_SA เทียบไตรมาสก่อนแบบปรับฤดูกาล เศรษฐกิจไทยด้านการใช้จ่าย (Expenditure approach) ในช่วงท้ายปี 2023 ยังมีแรงหนุนสำคัญจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่ดีต่อเนื่อง ตามความเชื่อมั่นผู้บริโภค จำนวนนักท่องเที่ยว และอัตราการว่างงานที่ดีขึ้น อีกทั้ง การส่งออกสินค้าที่พลิกกลับมาขยายตัวได้ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยมีแรงกดดันสำคัญจากการใช้จ่ายภาครัฐที่หดตัวสูงทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน โดยการลงทุนภาครัฐยังคงหดตัวสูง ตามการลดลงของการลงทุนรัฐบาลเนื่องจากความล่าช้าการประกาศ พ..งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2024 สำหรับ GDP ด้านการผลิต (Production approach) ภาคบริการขยายตัวดี โดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการขายส่งและการขายปลีก ในขณะที่ภาคการก่อสร้างหดตัวสูงตามการลดลงของการก่อสร้างภาครัฐโดยเฉพาะการก่อสร้างของรัฐบาล และภาคเกษตรพลิกกลับมาหดตัวตามคาดเนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแล้งที่เกิดขึ้นในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2023 ส่งผลให้ผลผลิตพืชหลายชนิดปรับตัวลดลง อีกทั้ง ภาคอุตสาหกรรมยังคงหดตัวต่อเนื่องตามการหดตัวของการผลิตเพื่อส่งออก

 

SCB EIC มองเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2024 ขยายตัวสูงขึ้น

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2024 จะขยายตัวได้สูงขึ้นกว่าไตรมาสที่ผ่านมา มีแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เร่งตัวจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ที่ได้อานิสงส์จากเทศกาลตรุษจีนรวมถึงนักท่องเที่ยวหลายประเทศกลับมาใกล้เคียงระดับปกติ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น มาตรการลดค่าครองชีพ โดยเฉพาะพลังงาน และโครงการ Easy e-receipt กระตุ้นการใช้จ่าย นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีแรงหนุนจากการการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยในไตรมาสนี้ จากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ปี 2024 ล่าช้าทำให้แรงส่งในการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐมีแนวโน้มซบเซาในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2024 กดดันการบริโภคและลงทุนภาครัฐ

 

มองภาพรวมในปี 2024 เศรษฐกิจไทยยังน่าห่วงและฟื้นตัวช้า

   SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2024 ฟื้นตัวช้า โดยมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคบริการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องและการท่องเที่ยวในประเทศที่ผู้เยี่ยมเยือนไทยยังเติบโตดี การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการอนุมัติการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) และการส่งออกที่ฟื้นตัวจากแนวโน้มการค้าโลกที่ขยายตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าโลก อย่างไรก็ดี ต้องจับตามองความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทานจากเหตุการณ์การโจมตีของกบฏฮูตีและความแห้งแล้งของคลองปานามา ในขณะที่ปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยมาจากการลงทุนของภาครัฐมีแนวโน้มหดตัวตามความล่าช้าในการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2024 ส่งผลให้ภาพรวมแรงสนับสนุนเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มจำกัดในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนที่จะสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายได้มากขึ้นหลัง พ.ร.บ. งบประมาณ 2024 ประกาศใช้ในช่วงเดือน เม.ย. - พ.ค. โดยเฉพาะในด้านการลงทุน แต่จะไม่สามารถเร่งรัดได้อย่างเต็มที่ภายใต้ช่วงเวลาที่จำกัด อีกทั้ง ภาครัฐยังจะมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณมากขึ้นจากระดับหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงหลังวิกฤติโควิด นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานยังอ่อนแอ โดยเฉพาะภาคการผลิตที่หดตัวต่อเนื่องในหลายอุตสาหกรรมและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าในระยะต่อไป

 

บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/gdp-19022024

 

 

###

 

ประชาสัมพันธ์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

กุณฑลี  โพธิ์แก้ว  โทร. 086-1308560 Email: koontalee.pokaew@scb.co.th

DISCLAIMER:           This e-mail is intended solely for the recipient(s) name above.  If you are not the intended recipient, any type of your use is prohibited.  Any information, comment or statement contained in this e-mail, including any attachments (if any) are those of the author and are not necessarily endorsed by the Bank.  The Bank shall, therefore, not be liable or responsible for any of such contents, including damages resulting from any virus transmitted by this e-mail.

No comments

Powered by Blogger.